วิชชุลาวัณย์ พิทักษ์ผล. (2563, เมษายน-มิถุนายน), คลื่นดิจิทัลและภัยเงียบที่ควรระวัง. วารสารการศึกษาไทย
17 (2) : 77-78
โลกปัจจุบันก้าวสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มตัว นับตั้งแต่ทารกก่อกำเนิดในครรภ์ พ่อแมก็หาความรู้ต่าง ๆ ในการดูแลตนเองเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต ในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยด้วยตัวเองแล้ว ก็ยังมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับสมาชิกในสื่อสังคม เยาวชนยุคใหม่มีทักษะดิจิทัลที่ซึมซับอยู่ในตัวโดยอัตโนมัติ เพราะได้ดูการ์ตูน ฟังเพลง ฯลฯ จากคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน สังคมผู้สูงอายุก็ที่นิยมใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Line Facebook ในชีวิตประจำวัน เพราะนอกจากจะได้พูดคุยกับเพื่อนมากมายแล้ว ยังสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้สะดวก รวดเร็ว จึงกล่าวได้ว่า สื่อดิจิทัลเป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลและมีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมนุษย์ทุกช่วงวัย แต่ในขณะเดียวกันก็มีภัยที่แอบแฝงมาทำร้ายผู้ที่ใช้งานที่ไม่ได้ระมัดระวังตัว มีเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ใช้ป้องกันภัยเงียบได้ดังนี้
1. ลดความเสี่ยงโดยไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวบนออนไลน์มากเกินไป ควรให้ข้อมูลเท่าที่จำเป็น
2. ป้องกันเยาวชนให้ปลอดภัยจาก Grooming (วิธีสร้างความผูกพันโดยมีเป้าหมาย) และการขู่กรรโชกบนไซเบอร์ เช่น ไม่ออกไปพบตัวจริงของบุคคลที่รู้จักเพียงบนสื่อออนไลน์ บอกพ่อแม่ เมื่อมีการติดต่อเข้ามาซ้ำ ๆ
3. หากมีการขู่บนไซเบอร์ ต้องเก็บรักษาร่องรอยการติดต่อนั้นไว้เป็นหลักฐาน เช่น การบันทึกรูปภาพหรือบทสนทนาออนไลน์ไว้
4. เมื่อได้รับข่าวใดอย่าส่งต่อทันที ควรตรวจสอบให้แน่ใจถึงความถูกต้องของเนื้อหาและแหล่งที่มา
5. อย่าแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์แบบไม่ยั้งคิด
6. ในกรณีที่ผู้ใช้งานสื่อออนไลน์เป็นเด็ก ควรติดตั้งคอมพิวเตอร์ไว้ในพื้นที่ที่คนในบ้านมีกิจจกรรมร่วมกัน กำหนดระยะเวลาในการใช้งาน ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์และปรับปรุงให้ทันสมัย
![]() |